2.2.อนุภาคในอะตอมและไอโซโทป

บทที่2

อะตอมและสมบัติของธาตุ

2.2.อนุภาคในอะตอมและไอโซโทป

การค้นพบอิเล็กตรอน
การทดลองของมิลลิแกน
             มิลลิแกน ได้ทำการทดลองเพื่อหาค่าประจุของอิเล็กตรอนโดยวิธีหยดน้ำมัน ทำได้โดย พ่นน้ำมันเป็นละอองเม็ดเล็ก ๆ ให้ตกลงมาระหว่างแผ่นโลหะ 2 แผ่น แล้วใช้รังสีเอกซ์ไปดึงอิเล็กตรอนออกจากอะตอมของก๊าซในอากาศ แล้วให้อิเล็กตรอนไปเกาะหยดน้ำมัน พบว่า แต่ละหยดน้ำมันมีอิเล็กตรอนมาเกาะจำนวนไม่เท่ากัน นั่นคือ หยดน้ำมันบางหยดมีอิเล็กตรอนเกาะติดเพียงตัวเดียว บางหยดก็มีมากกว่า 1 ตัว หยดน้ำมันจะตกลงมาตามแรงโน้มถ่วงของโลก จากนั้นให้กระแสไฟฟ้าเข้าไปในแผ่นประจุบวกและลบ แผ่นประจุลบซึ่งอยู่ด้านล่างผลักหยดน้ำมันที่มีอิเล็กตรอนมาเกาะจนหยุดนิ่ง ซึ่งดูได้ด้วยกล้องจุลทรรศน์(microscope) แสดงว่า แรงโน้มถ่วงของโลกเท่ากับแรงจากสนามไฟฟ้า แล้วคำนวณหาค่าประจุ

            จากผลการทดลองมิลลิแกนคำนวณหาค่าประจุของอิเล็กตรอนได้คือ 1.60 X 10-19 คูลอมบ์ ซึ่งเป็นค่าประจุของอิเล็กตรอน 1 อิเล็กตรอน
 
          จากการทดลองของมิลลิแกน เราทราบค่า              e = 1.60 X 10-19 คูลอมบ ์ 
 
          จากการทดลองของทอมสัน เราทราบค่า           e/m = 1.76 X 108 คูลอมบ์/กรัม
                                                 แทนค่า 1.60 X 10-19/m = 1.76 X 108                                                                                  m = 9.11 X 10-28 กรัม
          ดังนั้น เราจะทราบมวลของอิเล็กตรอนเท่ากับ  9.11 X 10-28 กรัม


การทดลองของมิลลิแกน
มิลลิแกนได้ทำการทดลองหาค่าประจุไฟฟ้าของอิเลคตรอน เนื่องจากอิเลคตรอนเล็กมากทำให้ทำการทดลองกับอิเลคตรอนโดยตรงไม่ได้ จึงทำการทดลองวัดประจุไฟฟ้าที่แฝงอยู่กับหยดน้ำมันแทน โดยให้หยดละอองน้ำมันมีประจุไฟฟ้า โดยจัดอุปกรณ์การทดลอง



เครื่องฉีดฝอยละอองน้ำมัน มีหน้าที่ฉีดฝอยละอองน้ำมัน ฝอยละอองน้ำมันที่ถูกฉีดออกไปจะมีประจุไฟฟ้า (ประจุที่เกิดขึ้นเกิดจากการขัดสี) หยดน้ำมันที่ถูกพ่นออกมาจะแบ่งเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้ หยดที่สูญเสียอิเลคตรอนไปจะมีประจุไฟฟ้าเป็นบวก หยดที่ได้รับอิเลคตรอนเพิ่มมาจะมีประจุไฟฟ้าเป็นลบ หยดน้ำมันที่ไม่สูญเสียอิเลคตรอน หรือสูญเสียอิเลคตอรนไปเท่ากับจำนวนที่ได้รับมา จะเป็นกลางทางไฟฟ้า เมื่อยังไม่ต่อแผ่นโลหะทั้งสองกับความต่างศักย์ไฟฟ้า หยดน้ำมันทั้ง 3 กลุ่ม จะเคลื่อนที่ลงด้วยความเร่งเนื่องจากแรงโน้มถ่วงของโลก เท่ากันทุกกลุ่ม เมื่อต่อแผ่นโลหะทั้งสองเข้ากับความต่างศักย์ไฟฟ้าให้สนามไฟฟ้ามีทิศลง(แผ่นบวกอบู่บน แผ่นลบอยู่ล่าง) หยดน้ำมันทั้ง 3 กลุ่ม จะเคลื่อนที่ดังนี้ 
1. กลุ่มที่เป็นกลาง จะเคลื่อนที่ลงด้วยความเร่งเท่าเดิม  (เพราะมีเฉพาะแรงเนื่องจากน้ำหนักของหยดน้ำมันเท่านั้นที่กระทำต่อวัตถุ)
2. กลุ่มที่มีประจุบวก จะเคลื่อนที่ลงด้วยความเร่งมากกว่าเดิม (เพราะมีแรงเนื่องจากสนามไฟฟ้ากระทำต่อหยดน้ำมันในทิศลงด้วย)
3. กลุ่มที่มีประจุลบ จะเคลื่อนที่ลงด้วยความเร่งน้อยกว่าเดิมหรืออาจเคลื่อนที่ขึ้นด้วยความเร่ง (เพราะมีแรงเนื่องจากสนามไฟฟ้ากระทำต่อหยดน้ำมันมีทิศขึ้น) 


ซึ่งหยดน้ำมันกลุ่มนี้เราสามารถควบคุมได้ โดยการปรับสนามไฟฟ้าให้เหมาะสม จนกระทั่ง แรงเนื่องจากสนามไฟฟ้าเท่ากับแรงเนื่องจากน้ำหนักของหยดน้ำมัน
เมื่อหยดน้ำมันสมดุล (หยดน้ำมันหยุดนิ่งหรือเคลื่อนที่ลงด้วยความเร็วคงที่)และไม่คิดแรงเสียดทานของอากาศเราจะได้ว่า
                แรงเนื่องจากสนามไฟฟ้า = แรงเนื่องจากน้ำหนักของหยดน้ำมัน

                                                       
เมื่อ q = ประจุไฟฟ้าบนหยดน้ำมัน เป็น C.(= จำนวนอิเลคตรอน x ประจุของอิเลคตรอน)
    mo = มวลของหยดน้ำมัน เป็น kg.
      g = ความเร่งเนื่องจากแรงโน้มถ่วงของโลก = 10 m/s2
      d = ระยะห่างระหว่างแผ่นโลหะขนาน เป็น m.
จากการทดลอง มิลลิแกนคำนวณหาค่าประจุไฟฟ้าที่แฝงอยู่บนหยดน้ำมันพบว่าประจุไฟฟ้าบนหยดน้ำมันมีค่าต่างๆ กัน เช่น 3.2 x 10-19 C., 4.8 x 10-19 C., 6.4 x 10-19 C., 9.6 x 10-19 C.,ฯลฯ     จากการศึกษามิลลิแกนแปลกใจที่ค่าประจุไฟฟ้าที่แฝงอยู่บนหยดน้ำมันแต่ละค่าจะเป็นจำนวนเต็มเท่าของเลขจำนวนหนึ่งเสมอซึ่งเลขจำนวนดังกล่าวคือ 1.6x10-19 มิลลิแกนจึงสรุปว่าอิเลคตรอนจะต้องมีประจุไฟฟ้า 1.6 x 10-19 C. และการที่เขาวัดประจุไฟฟ้าที่แฝงอยู่บนหยดน้ำมันได้เป็นจำนวนเต็มเท่าของค่า 1.6 x 10-19 C. เพราะว่าบนหยดน้ำมันนั้นมีอิเลคตรอนแฝงอยู่หลายๆตัว

สรุปการทดลองหยดน้ำมันของมิลลิแกน
การทดลองหยดน้ำมันของมิลลิแกน  เป็นการทดลองเพื่อหาค่าประจุของอิเล็กตรอน  โดยใช้หลักสมดุลของแรงเนื่องจากสนามไฟฟ้าเท่ากับแรงเนื่องจากสนามโน้มถ่วง

       ในการทดลองมิลลิแกน จะให้หยดน้ำมันหยดออกมาจากหลอดฉีดยา  ซึ่งทำให้หยดน้ำมันเกิดจากเสียดสี มีสภาพเป็นประจุ  โดยมีทั้งหยดที่มีประจุบวกและประจุลบ
        มิลลิแกนให้หยดน้ำมันเหล่านี้เคลื่อนที่ในสนามไฟฟ้า แรงเนื่องจากสนามไฟฟ้าจะทำให้หยดน้ำมันที่มีประจุบวกและประจุลบมีการเคลื่อนที่ที่แตกต่างกัน  โดย

หยดน้ำมันที่มีประจุลบ จะมีการเคลื่อนที่แบบช้าๆ   บางหยดเคลื่อนที่ขึ้น   บางหยด

เคลื่อนที่ลง  บางหยดหยุดนิ่ง  ส่วนหยดที่มีประจุบวก จะเคลื่อนที่ลงด้วยความเร็วมากกว่าหยดอื่นๆ

       ในการทดลองมิลลิแกนจะเลือกศึกษาหยดน้ำมันที่มีประจุลบ  คือหยดที่เคลื่อนที่ช้าๆ  ปรับค่าความต่างศักย์ จนกระทั่งหยดน้ำมันหยดนั้นหยุดนิ่ง  คืออยู่ในสภาพสมดุลเนื่องจากแรงเนื่องจากสนามไฟฟ้ากับแรงเนื่องจากสนามโน้มถ่วง
       ค่าประจุของหยดน้ำมันที่มิลลิแกนคำนวณมีหลายค่าเช่น 1.6 x10-19  3.2 x10-19 4.8 x10-19  เป็นต้น  ซึ่งตัวเลขเหล่านี้มิลลิแกนพบว่าจะเป็นจำนวนเท่าของ  1.6 x 10-19  เขาจึงสรุปว่าหยดน้ำมันแต่ละหยดมีจำนวนอิเล็กตรอนไม่เท่ากัน  และอิเล็กตรอนแต่ละตัวมีประจุเป็น  1.6 x 10-19  คูลอมบ์
       เมื่อนำค่าประจุของอิเล็กตรอนที่คำนวณได้ไปสัมพันธ์กับค่าประจุต่อมวลของรังสีคาโธด  ซึ่งก็คืออิเล็กตรอนในเวลาต่อมา  จะได้มวลของอิเล็กตรอนจะมีค่าเป็น
 9 x 10-31 กิโลกรัม.
การค้นพบโปรตอน
ออยเกน โกลด์สไตน์


เนื่องจากอะตอมเป็นกลางทางไฟฟ้า และการที่พบว่าอะตอมของธาตุทุกชนิดจะต้องประกอบด้วยอิเล็กตรอนซึ่งมีประจุลบ ทำให้นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า องค์ประกอบอีกส่วนหนึ่งของอะตอมจะต้องมีอนุภาคที่มีประจุบวกอยู่ด้วย



ออยเกน โกลด์สไตน์ (Eugen Goldstein) นักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมัน ได้ทำการทดลองเกี่ยวกับหลอดรังสีแคโทด ดังรูป


โกลด์สไตน์ได้เลื่อนขั้วแคโทดและแอโนดมาไว้เกือบตรงกลาง แล้วเพิ่มฉากเรืองแสง ข. ที่ปลายอีกด้านหนึ่งของหลอดแก้ว
โดยคิดว่าการที่อนุภาคที่มีประจุลบสามารถเคลื่อนที่ผ่านขั้วแอโนดไปที่ฉากเรืองแสง ก. ได้ อนุภาคที่มีประจุบวกก็ควรจะเคลื่อนที่ผ่านแคโทดไปที่ฉากเรืองแสง ข. ได้เช่นเดียวกัน ดังนั้นจึงเจาะรูตรงกลางของขั้วแอโนดและแคโทดไว้ จากการทดลองเมื่อผ่านกระแสไฟฟ้า ปรากฏว่า

- มีจุดสว่างเกิดขึ้นทั้งบนฉากเรืองแสง ก. และ ข.

โกลด์สไตน์อธิบายว่าจุดสว่างที่เกิดบนฉากเรืองแสง ข. จะต้องเกิดจากรังสีที่ประกอบด้วยอนุภาคที่มีประจุไฟฟ้าบวกเคลื่อนที่ผ่านรูตรงกลางของแคโทดไปยังฉากเรืองแสง แต่ยังไม่ทราบว่ารังสีที่มีประจุไฟฟ้าบวกนี้เกิดจากอะตอมของก๊าซหรือเกิดจากอะตอมของขั้วไฟฟ้า และมีลักษณะเหมือนกันหรือไม่

จากการทดลองหลายครั้ง ๆ

- โดยการเปลี่ยนชนิดของก๊าซในหลอดแก้ว ปรากฏว่าอนุภาคที่มีประจุบวกเหล่านี้มี อัตราส่วนของประจุต่อมวลไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับชนิดของก๊าซที่ใช้

- เมื่อทดลองโดย เปลี่ยนโลหะที่ใช้ทำขั้วไฟฟ้าหลาย ๆ ชนิด แต่ใช้ก๊าซในหลอด แก้วชนิดเดียวกัน ปรากฏว่าผลการทดลองได้ อัตราส่วนของประจุต่อมวลเท่ากัน

แสดงว่าอนุภาคบวกในหลอดรังสีแคโทดเกิดจากก๊าซ ไม่ได้เกิดจากขั้วไฟฟ้า

ต่อมาโกลด์สไตน์ได้พบว่าถ้าทำการทดลองโดยใช้ก๊าซไฮโดรเจน จะได้อนุภาคบวกที่มีจำนวนประจุเท่ากับประจุของอิเล็กตรอน และเรียกอนุภาคบวกที่เกิดจากก๊าซไฮโดรเจนว่า โปรตอนอะตอมของก๊าซไฮโดรเจนจะมี 1 โปรตอน และอะตอมของธาตุอื่น ๆ อนุภาคบวกจะมีมากกว่า 1 โปรตอน แต่จำนวนโปรตอนและอิเล็กตรอนเท่ากัน

การค้นพบโนิวตรอน
เจมส์ แชดวิก

         เจมส์ แชดวิก (James Chadwick) จะประกาศการค้นพบนิวตรอนได้สำเร็จโดยต้องใช้เวลาค้นหา นานกว่า 10 ปีทีเดียว
         แชดวิกทำการทดลองหามรุ่งหามค่ำเพื่อพิสูจน์ทฤษฎีนิวตรอนของพวกเขา ศึกษารังสีจากเบริลเลียมด้วยเครื่องนับการแตกตัว เป็นไอออนหรือที่รู้จักกันดีในชื่อว่าไกเกอร์เคาน์เตอร์ และอีกอุปกรณ์หนึ่งคือ ห้องหมอก และเขาพบว่าสามารถใช้สารเบา ชนิดอื่น (รวมทั้งเบริลเลียมเอง) แทนพาราฟินก็ให้ผลอย่างเดียวกัน คือ โปรตอนถูกปล่อยออกมา
         

แชดวิกอธิบายว่า รังสีแอลฟาจากพอโลเนียมที่ระดมยิงเข้าไปชนกับนิวเคลียสของเบริลเลียม ทำให้เกิดการแปรธาตุเป็น คาร์บอนและปล่อยนิวตรอนออกมา 1 อนุภาคต่อการชนแต่ละครั้ง และเมื่อนิวตรอนนี้ผ่านเข้าไปในพาราฟิน ก็จะเข้าไป กระแทกนิวเคลียสของอะตอมไฮโดรเจนให้กระเด็นออกมาเป็นโปรตอนอิสระ การกระแทกนี้เป็นในทำนองเดียวกับการแทง ลูกบอลสนุกเกอร์สีขาวไปกระแทกลูกแดง ให้กระเด็นไปได้โดยลูกขาวหยุดนิ่งแทนตำแหน่งลูกแดง

เลขอะตอม และเลขมวล
เลขอะตอม (atomic number) หมายถึงจำนวนโปรตอนในนิวเคลียสของธาตุนั้นๆ หรือหมายถึงจำนวนอิเล็กตรอนที่วิ่งวนรอบนิวเคลียสของอะตอมที่เป็นกลาง เช่น ไฮโดรเจน (H) มีเลขอะตอมเท่ากับ 1
เลขอะตอม เดิมใช้หมายถึงลำดับของธาตุในตารางธาตุ เมื่อ ดมิทรี อีวาโนวิช เมนเดลีเยฟ (Dmitry Ivanovich Mendeleev) ทำการจัดกลุ่มของธาตุตามคุณสมบัติร่วมทางเคมีนั้น เขาได้สังเกตเห็นว่าเมื่อเรียงตามเลขมวลนั้น จะเกิดความไม่ลงรอยกันของคุณสมบัติ เช่น ไอโอดีน (Iodine) และเทลลูเรียม (Tellurium) นั้น เมื่อเรียกตามเลขมวล จะดูเหมือนอยู่ผิดตำแหน่งกัน ซึ่งเมื่อสลับที่กันจะดูเหมาะสมกว่า ดังนั้นเมื่อเรียงธาตุในตารางธาตุตามเลขอะตอม ตารางจะเรียงตามคุณสมบัติทางเคมีของธาตุ เลขอะตอมนี้ถึงแม้โดยประมาณ แล้วจะแปรผันตรงกับมวลของอะตอม แต่ในรายละเอียดแล้วเลขอะตอมนี้จะสะท้อนถึงคุณสมบัติของธาตุ

เฮนรี โมสลีย์ (Henry Moseley) ได้ค้นพบความสัมพันธ์ระหว่างการกระเจิงของ สเปกตรัมของรังสีเอ็กซ์ (x-ray) ของธาตุ และตำแหน่งที่ถูกต้องบนตารางธาตุ ในปี ค.ศ. 1913 ซึ่งต่อมาได้ถูกอธิบายด้วยเลขอะตอม ซึ่งอธิบายถึงปริมาณประจุในนิวเคลียส หรือ จำนวนโปรตอนนั่นเอง ซึ่งจำนวนของโปรตอนนี้เป็นตัวกำหนดคุณสมบัติทางเคมีของธาตุ

เลขมวล (mass number, A), หรือ เลขมวลอะตอม หรือ เลขนิวคลีออน เป็นผลรวมของจำนวนโปรตอนและนิวตรอน (โปรตอนและนิวตรอมเรียกรวมกันว่านิวคลีออน) ในนิวเคลียสอะตอม เพราะโปรตอนและนิวตรอนต่างก็เป็นแบริออน เลขมวล A ก็คือเลขแบริออน B ของนิวเคลียสของอะตอมหรือไอออน เลขมวลจะต่างกันถ้าเป็นไอโซโทปที่ต่างกันของธาตุเคมี เลขมวลไม่เหมือนกับเลขอะตอม(Z) ที่แสดงถึงจำนวนโปรตอนในนิวเคลียสและสามารถใช้ระบุบธาตุได้ ดังนั้นค่าที่ต่างกันระหว่างเลขมวลและเลขอะตอมจะบ่งบอกถึงจำนวนนิวตรอน (N) ในนิวเคลียส: N=A−Z
เลขมวลจะถูกเขียนอยู่ด้ายหลังหรือมุมบนด้านซ้ายของสัญลักษณ์ธาตุ เช่น ไอโซปโทปปกติของคาร์บอนคือ คาร์บอน-12 หรือ 12C ซึ่งมี 6 โปรตรอนและ 6 นิวตรอน สัญลักษณ์ไอโซปแบบเต็มรูปแบบจะมีเลขอะตอม (Z) ด้วยอยู่ด้านล่างซ้ายมือของสัญลักษณ์ธาตุ: 6C ซึ่งวิธีนี้ไม่มีความจำเป็นนักจึงนิยมละเลขอะตอมไว้
ตัวอย่าง: การสลายในธรรมชาติของคาร์บอน-14จะแผ่รังสีเบต้า ด้วยวิธีนิวตรอนหนึ่งตัวถูกทำให้เปลี่ยนสถานะกลายเป็นโปรตอนกับการปล่อยพลังงานของอิเล็กตรอนและอนุภาคต้าน ดังนั้นเลขอะตอมจะเพิ่มขึ้น 1 (Z: 6→7) และเลขมวลมีค่าเท่าเดิม (A = 14) ขณะที่เลขนิวตรอนลดลง 1 (n: 8→7)  อะตอมผลลัพธ์เป็นอะตอมไนโตรเจน-14ซึ่งมี 7 โปรตอนและ 7 นิวตรอน:
6C → 7N + e- + ve
ยูเรเนียม-238ปกติจะสลายให้รังสีแอลฟาซึ่งนิวเคลียสเสีย 2 นิวตรอนและ 2 โปรตรอนในรูปแบบของอนุภาคแอลฟา ดังนั้นเลขอะตอมและเลขนิวตรอนจะลดลงไป 2 (Z: 92→90, n: 146→144) ซึ่งเลขมวลจะลดไป 4 (A = 238→234) อะตอมผลลัพธ์เป็นอะตอมทอเรียม-234 และอนุภาคแอลฟา (2He2+)                                                                                                                                                                                                  ไอโซโทป ไอโซโทน ไอโซบาร์
ไอโซโทป(Isotope)หมายถึง อะตอมของธาตุชนิดเดียวกัน แต่มีเลขมวลต่างกัน 
หรืออะตอมของธาตุที่มีเลขอะตอมเท่ากัน แต่มีจำนวนนิวตรอนต่างกัน
ไอโซโทน(Isotone)หมายถึง อะตอมของธาตุต่างชนิดกันมีเลขอะตอมและ
เลขมวลต่างกัน แต่มีจำนวนนิวตรอนเท่ากัน
ไอโซบาร์(Isobar)หมายถึง อะตอมของธาตุต่างชนิดกัน แต่มีเลขมวลเท่ากัน



ทีมา : http://www.geocities.ws







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น